วันศุกร์, 24 มกราคม 2568

ผอ.ศปพร.ลงพื้นที่ มอบความห่วงใย ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในช่วงสถานการณ์โควิด 19

19 พ.ย. 2021
9

             เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 1430 น. ที่โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านปิยามุมัง ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วย พันเอก อังคาร พร้อมสุข เสนาธิการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านปิยามุมัง ได้รับฟังบรรยายสรุปผลการปฏิบัติงานในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงปัญหา ข้อขัดข้อง ในการดำเนินงานจากผู้จัดการฟาร์มตัวอย่างฯ ซึ่งได้เน้นย้ำให้การบริหารจัดการโครงการฟาร์มตัวอย่างฯเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด ให้ฟาร์มตัวอย่างฯ สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ เป็นแหล่งจ้างแรงงานให้สมาชิกฟาร์มฯ มีงานทำ มีรายได้ พอเลี้ยงครอบครัว ตามแนวทาง” ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  พอมีพอกิน พออยู่พอใช้ พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตให้ผ่านช่วงสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปได้ พร้อมฝากเรื่องการพัฒนา แปรรูปผลผลิต เพื่อเป็นการสร้างรายได้ ให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากนั้น พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ ได้เยี่ยมชมกิจกรรมโรงเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ และเยี่ยมชมห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมี พันเอกอิศรา จันทะกระยอม ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 153 / หัวหน้าคณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะที่ 2 นายอำเภอยะหริ่ง หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ และนางสาว อมรมาศ จันทรดี ผู้จัดการโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านปิยามุมัง ร่วมให้การต้อนรับ

             ต่อจากนั้น พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ ได้เดินทางไปยังวัดปิยาราม ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เพื่อถวายเครื่องสังฆทาน และถวายปัจจัย แด่พระสงฆ์ พร้อมทั้งสอบถามความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ และการปฏิบัติศาสนกิจในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงสอบถามสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ตามโครงการเสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง กิจกรรมการสนับสนุนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ในพื้นที่ล่อแหลม เสี่ยงภัย ไม่สามารถบิณฑบาตได้ พร้อมทั้งพบปะ พี่น้องประชาชนไทยพุทธในพื้นที่ กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ ตลอดจนได้มอบถุงยังชีพ และไข่ไก่ ผลผลิตจากโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านปิยามุมัง สร้างความปลาบปลื้มใจให้ แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

             ทั้งนี้ พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า โดยศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( ศปพร. )ได้รับทราบปัญหาความเดือดร้อน ของพี่ น้องประชาชนในพื้นที่ ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้นำถุงยังชีพมามอบให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งได้แนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร( ในหลวงรัชกาลที่9 )เพื่อให้พี่น้องประชาชนในพื้ นที่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ส่งเสริมการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยการบูรณาการร่วมกับ หน่วยงาน ส่วนราชการในพื้นที่ สนับสนุน และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน ตลอดจนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความเชื่อมั่น และรู้สึกปลอดภัย ในการดำเนินชีวิต รวมถึงเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด และเกิดประโยชน์สูงสุด แก่พี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าในพื้นที่ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ภายใต้ สังคมพหุวัฒนธรรม เพราะ พวกเราคือ ครอบครัวเดียวกัน

▶️▶️โดยศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินงานตามโครงการ
เสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย 3กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมพัฒนาชุมชนเพื่อเข้าไปดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนในพื้นที่ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ พร้อมทั้งลงพื้นที่สอบถามความต้องการในการประกอบอาชีพเพิ่มเติม ทั้งด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และความต้องการอื่นๆของพี่น้องประชาชนในชุมชนไทยพุทธ ในพื้นที่ จชต. เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้นสร้างความเชื่อมั่นเกิดความรู้สึกปลอดภัยในพื้นที่ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งขึ้นในชุมชนประชาชนมี สำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดไม่ละทิ้งถิ่นฐาน
2. กิจกรรมปรับปรุงซ่อมแซมศาสนสถาน เพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแชมวัดสำนักสงฆ์ และที่พักสงฆ์ ที่ชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรงเพื่อใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีได้
3. กิจกรรมการสนับสนุนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพระสงฆ์ ให้มีภัตตาหารที่เพียงพอ สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ และไม่ละทิ้งวัด

****************************