วันศุกร์, 24 มกราคม 2568

?ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองของฟาร์มตัวอย่างตามโครงการพระราชดำริในพื้นที่ จชต.  ?

?ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองของฟาร์มตัวอย่างตามโครงการพระราชดำริในพื้นที่ จชต.  ?

?เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 เวลา 1330 น. พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วย พันเอก อังคาร พร้อมสุข เสนาธิการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าการเลี้ยงแพะ ตามกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองของฟาร์มตัวอย่างตามโครงการพระราชดำริในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา  (กิจกรรมส่งเสริมการทำปศุสัตว์ และการทำประมง)   ประจำปี พ.ศ. 2565 ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 2  ฟาร์มตัวอย่างฯ ได้แก่ โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านน้ำดำ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี  และ โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านไร่  หมู่ที่ 6 ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยได้รับฟังปัญหา ข้อขัดข้อง ในการดำเนินงาน พร้อมกับได้มอบนโยบายในการบริหารจัดการภายใน โครงการฟาร์มตัวอย่าง ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด เพื่อให้ฟาร์มตัวอย่างฯสามารถเลี้ยงดูตนเองได้ เป็นแหล่งจ้างแรงงานให้สมาชิกฯ มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้เรียนรู้การทำเกษตร ปศุสัตว์ และประมงอย่างถูกหลักวิชาการ และรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพในลักษณะการรวมกลุ่มทำงาน พร้อมทั้ง ส่งเสริมการขับเคลื่อน และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี พันเอก อิศรา จันทะกระยอม ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 153/ หัวหน้าคณะทำงานที่ 2 ,ผู้นำท้องถิ่น และส่วนราชการในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ

▶️โดย ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล และให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานของโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ  ได้จัดทำโครงการการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองของฟาร์มตัวอย่างตามโครงการพระราชดำริในพื้นที่ จชต. ขึ้นเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ที่สนับสนุนให้สมาชิกฟาร์มตัวอย่าง ได้มีทักษะในการดำรงชีพ และ ให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมให้ฟาร์มตัวอย่างสามารถสร้างผลผลิตนำมาซึ่งรายได้ในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกฟาร์มตัวอย่างและชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ จชต. โดยรวม ทั้งพี่น้องประชาชนไทยพุทธและพี่น้องประชาชนไทยมุสลิม ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ ด้วยความรัก ความเข้าใจ   ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำรวจความต้องการของสมาชิกฟาร์มตัวอย่างในแต่ละพื้นที่ ร่วมกับสมาชิกฟาร์ม ในการเลือกทำเล เตรียมพื้นที่บริเวณฟาร์มฯ รวมถึงประสานงานกับเกษตรอำเภอในพื้นที่ ให้ความรู้  ตามความเหมาะสมเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่ฟาร์มตัวอย่างฯ โดยการจัดหาพันธุ์แพะ  จัดทำโรงเรือนเลี้ยงแพะ และอาหาร ในระยะเริ่มต้น ให้แก่ โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ตามโครงการพระราชดำริในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ในความรับผิดชอบของ ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 16 ฟาร์ม

▶️▶️ในเวลาต่อมา พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ เดินทางต่อไปยัง ชุมชนท่าด่านตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามความคืบหน้าการเลี้ยงไก่ไข่  ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี พ.ศ. 2565 ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี  โดยศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้การสนับสนุนจัดหาพันธุ์ไก่ไข่ สายพันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรด  จำนวน 36 ตัว / ชุมชน พร้อมทั้งอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ และอาหารไก่ ตามความต้องการของพี่น้องประชาชนในชุมชนที่ได้ทำการสำรวจ ตามแผนเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2564 ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งกำหนดชุมชนล่อแหลมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน  258 ชุมชน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนไทยพุทธ และพี่น้องประชาชนไทยมุสลิม เป็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพสามารถสร้างงาน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม