วันศุกร์, 24 มกราคม 2568

?ผอ.ศปพร. สืบสาน รักษา ต่อยอดโครงการศูนย์การเรียนรู้บอนสี ตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ราชินีแห่งไม้ใบ เรียนรู้ที่ฟาร์มฯ ทำจริงที่บ้าน สร้างอาชีพ สร้างรายได้?

21 มี.ค. 2022
10

?ผอ.ศปพร. สืบสาน รักษา ต่อยอดโครงการศูนย์การเรียนรู้บอนสี ตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ราชินีแห่งไม้ใบ เรียนรู้ที่ฟาร์มฯ ทำจริงที่บ้าน สร้างอาชีพ สร้างรายได้?

?เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565 เวลา 1300 น. ที่ โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านควนหรัน ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เดินทางลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานตามโครงการศูนย์การเรียนรู้บอนสี ตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในกิจกรรมการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพลตรีเฉลิมพร ขำเขียว  ได้สอบถาม ความคืบหน้าการดำเนินการจัดสร้างโรงเรือนบอนสี ตลอดจนปัญหา ข้อขัดข้องในการดำเนินงาน โดยมี พันเอก อังคาร พร้อมสุข เสนาธิการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ , พันโท สุบิน ชะรอยรัมย์ ผู้บังคับกองพันส่งกำลังและบริการ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่15 / รองหัวหน้าคณะทำงานที่ 4 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้จัดการฟาร์มตัวอย่างฯ ร่วมให้การต้อนรับ

▶️จากนั้น ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ เดินทางต่อไปยัง โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านปิยา ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามความคืบหน้า การจัดสร้างโรงเรือนบอนสี ตามโครงการศูนย์การเรียนรู้บอนสี ตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในกิจกรรมการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ สืบสาน รักษา ต่อยอด ต้นไม้ทรงโปรด ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเพื่อสร้างการรับรู้ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ จชต. ปลูกบอนสี เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้

▶️ด้วยศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  (ศปพร.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ น้อมนำศาสตร์ของพระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทาง ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้รับการส่งเสริมอาชีพ โดยสนับสนุนการปลูกบอนสีเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ ตามพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ เรียนรู้ที่ฟาร์ม ทำจริงที่บ้าน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ “ เพื่อเป็นการยกคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเกิดสำนึกรักบ้านเกิดไม่ละทิ้งถิ่นฐาน  โดย ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ศปพร.) ได้การขยายผลโครงการบอนสีตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

จัดทำแผนการปฏิบัติงานในการดำเนินกิจกรรม บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์บอนสี เข้ามาให้ความรู้ แนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่ สำรวจพื้นที่ จัดเตรียมพื้นที่ จัดสร้างโรงเรือนบอนสี ในชุมชนตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่และความเหมาะสมของพื้นที่ รวม 4 หลัง โดยประสานงานกับคณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะที่ 1 – 4  รับผิดชอบดูแลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ได้แก่ พื้นที่จังหวัดปัตตานี โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านปิยา , พื้นที่จังหวัดยะลา โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ธารโต ,พื้นที่จังหวัดนราธิวาส โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการ ฟาร์มตัวอย่าง บ้านไอร์บือแต  และพื้นที่จังหวัดสงขลา โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านควนหรัน

▶️▶️ทั้งนี้ พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว กล่าวว่า บอนสี (Caladium) เป็นพรรณไม้ที่มีหัว หรือเหง้า ลำต้นอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่ขึ้นมานั้นเป็นกิ่งก้านของใบ บอนสี เป็นพืชที่มีทรงใบสวยงาม ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชินีแห่งใบไม้” ปัจจุบันประเทศไทย มีการปลูกและผสมพันธุ์บอนสีขึ้นใหม่มากมาย ทำให้มีสีสันสวยงามแปลกตาจากบอนสีดั้งเดิม  จึงทำให้บอนสีเป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถนำมาขายได้ราคาที่ดี ตลอดจน

โครงการดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์บอนสีชนิดต่างๆ ให้เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ เป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ เผยแพร่ให้บอนสีเป็นที่รู้จักมากขึ้น จนสามารถนำความรู้ไปขยายผลให้ส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ได้ต่อไป ◀️◀️